ชื่อท้องถิ่น

แมงลัก ก้อมก้อขาว(ภาคเหนือ), มังลัก(ภาคกลาง),ผักอีตู่(เลย)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Ocimum basilicum Linn. forma citratum Back.

วงศ์

LABIATAE

ชื่อสามัญ

Hairy Basil

ลักษณะ

เป็นพืชล้มลุกทรงพุ่มคล้ายโหระพา สูง 30-80 ซม. ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2-5 ซม. ปลายและโคนแหลม มีกลิ่นหอม ขอบใบเรียวหรือหยักมนๆ ดอก สีขาว ออกเป้นช่อที่ปลายกิ่ง ยาว 6-10 ซม. ใบประดับจะคงอยู่เมื่อเป็นผล ผลเป็นผลชนิดแห้ง รูปรี ขนาดเล็ก

ขยายพันธุ์

ปักชำกิ่ง หรือ ใช้เมล็ด แมงลักชอบขึ้นในที่ราบโล่งแจ้ง ปลูกง่ายในดินทุกชนิด ใช้เมล็ดโรยบนดิน หรือ ในแปลงที่จะปลูก ควรปลูกต้นฤดูฝน

ส่วนที่นำมาเป็นยา
  ผลแก่แห้ง(ซึ่งมักเรียกว่า เมล็ด), ใบ

สารเคมีที่สำคัญ

 เม็ดแมงลักประกอบด้วยสารคาร์โบไฮเดรตหลายชนิดซึ่งเป็นโมเลกุลใหญ่ และสารประกอบอื่น ๆ เช่น Camphene , mucillage , myrcene oil, D-Glucose เป็นต้น เปลือกผลแมงลัก มีสารเมือก (mucilage) ซึ่งพองตัวในน้ำได้ ,ใบมีน้ำมันหอมระเหย ประเภทการบูร, เบอร์นีอัล, ซีนีออล และยูจีนอล

สรรพคุณทางยาและวิธีใช้

  ใช้เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก :   นำเมล็ดครึ่ง - หนึ่งช้อนชาแช่น้ำ 1 แก้ว ทิ้งไว้ให้พองเต็มที่ รับประทานก่อนนอน

  ช่วยขับลม ลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ :   ใบแมงลักมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์ขับลม มักใช้ในรูปผักสดหรือใช้ปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง ขนมจีนน้ำยา เป็นต้น

  ใช้รักษากลากน้ำนมที่หน้าเด็ก :   ใช้ใบแมงลัก 10 ใบ นำมาตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นน้ำทาบริเวณที่เป็นกลากน้ำนม ซึ่งมักจะเห็นเป็นผื่นแดง ใช้ทาวันละครั้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์

  ใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ต้องการลดความอ้วน :   ใช้แมงลัก 1 - 2 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 แก้วใหญ่ รับประทานก่อนอาหารหรือแทนอาหารบางมื้อ

ข้อควรระวัง


มังคุด สมุนไพร 67 ชนิด ที่ใช้ในสาธารณสุขมูลฐาน ยอ